Home page

Tuesday 8 July 2014

มาพบกับ 10 สุดยอดประเทศที่นักศึกษาชอบไปเรียนต่อ

เรียนต่างประเทศ ไหนดีวันนี้มีคำตอบ

20140705-1404573776.4363-8

อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา ลดจากปี 2009 ถึง 6.6 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 2 สหราชอาณาจักร ลดจากปี 2009 ถึง 8.1 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 3 แคนาดา ลดจากปี 2009 ถึง 5.8 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 4 เยอรมนี เพิ่มจากปี 2009 ถึง 8.9 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 5 ออสเตรเลีย ลดจากปี 2009 ถึง 6.3 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 6 ฝรั่งเศส เพิ่มจากปี 2009 ถึง 2.2 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 7 สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่มจากปี 2009 ถึง 5.8 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 8 เนเธอร์แลนด์ เพิ่มจากปี 2009 ถึง 4.4 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 9 สวีเดน เพิ่มจากปี 2009 ถึง 3.2 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 10 สเปน ลดจากปี 2009 ถึง  2.8 เปอร์เซ็นต์

จากกราฟจะพอสังเกตได้ว่า ความนิยมในการไปเรียนต่อในอเมริกา อังกฤษ หรือออสเตรเลียจะค่อนข้างลดลง และนักศึกษาจะเน้นไปเรียนต่อกันที่ประเทศแถบยุโรปกันแทนนะครับ ซึ่งจะด้วยเรื่องปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ค่าเล่าเรียน และคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านั่นเอง

หวังว่านี่ก็จะเป้นข้อมูลที่จะช่วยเพื่อนๆ ที่ยังตัดสินใจว่าจะไปเรียนต่อกันที่ไหนยังไม่ได้นะครับ จะได้ไม่ตัดสินใจพลาดกันจ้า แล้วมาพบกับข้อมูลดีๆ แบบนี้ได้ใหม่กับ ScholarShip.in.th นะจ๊ะ

เคล็ดลับความจำ!! สอนเทคนิค...ทำอย่างไรให้สมอง ‘จำได้ไว-จำได้เก่ง’ กว่าผู้อื่น

1.เริ่มที่การเตรียมตัว
ก่อนจะมีทักษะการจำระดับเทพ การเตรียมตัวถือเป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งกูรูต่างประเทศแนะนำว่าขณะฝึกเราควรหาสถานที่ที่มีสิ่งรบกวนน้อยจะช่วยได้มาก อีกทั้งการดื่มน้ำชาก็ช่วยได้เช่นกัน เพราะชามีส่วนผสมที่ช่วยบำรุงความจำ
 
2.บันทึกสิ่งที่คุณต้องการจำ
หากต้องการจะจำบทเรียนในห้อง ให้อัดเสียงไว้แบบละเอียด จากนั้นเปิดฟังไปเรื่อยๆ สมองของคุณก็จะซึมซับข้อมูลไว้  ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบเรียนรู้ด้วยการฟัง
 
3.จดแหลก
ขณะที่คุณพยายามจำอะไรสักอย่าง ให้เขียนข้อมูลที่คุณพอจะจำได้ทั้งหมดออกมา เพราะมันจะช่วยเราสร้างความคุ้นเคย และเมื่อเราเริ่มจำข้อมูลนั้นอีกครั้งจะทำให้เราจำได้ไวขึ้น
 
4.แบ่งหมวดหมู่ของสิ่งที่จด
การแบ่งหมวดหมู่ในโน้ต จะช่วยจัดระเบียบความคิด ซึ่งจะทำให้เราจดจำได้ดียิ่งขึ้นขณะทบทวน นอกจากนี้การใช้สีช่วยไฮไลท์ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำเช่นกัน
 
5.การทบทวนช่วยให้จำเก่งขึ้น
การหมั่นทบทวนจะทำให้สมองคุ้นเคยกับข้อมูลและจดจำได้แม่นยำ อีกทั้งยังทำให้ความทรงจำระยะสั้นดีขึ้น แต่สิ่งที่ต้องจำไว้คือควรทบทวนทีละประเด็น จนมั่นใจว่าจำได้ จึงค่อยจำเรื่องอื่นต่อ เพราะถ้าฝืนเหมารวมจะทำให้เราจำอะไรได้น้อยมาก
 
6.เขียนออกมาจากความทรงจำ
เมื่อเริ่มจำข้อมูลได้แล้ว ให้ถ่ายทอดออกมาโดยการเขียน  ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้สมองซึมซับข้อมูลได้แม่นยิ่งขึ้น ในแบบที่คุณเองก็คาดไม่ถึงเลยล่ะ

7.สอนสิ่งที่รู้ให้ผู้อื่น (หรือแม้กระทั่งตัวเอง)
นี่คืออีกสุดยอดเทคนิค ที่คนจำเก่งนิยมทำ นั่นคือพวกเขาสอนหรือติวข้อสอบให้เพื่อนๆ เพราะการทำเช่นนี้จะช่วยให้สมองเข้าใจข้อมูลแบบละเอียดยิบ เพราะได้ฝึกปฏิบัติจริง อีกทั้งยังได้มิตรภาพ
 
8.ฟังเทปซ้ำ ขณะมีเวลาว่าง
กูรูต่างประเทศแนะว่า หากมีเวลาว่างอย่าปล่อยไปอย่างไร้ประโยชน์ เพราะไม่ว่าตอนซักผ้า หรือนั่งเล่นชิลๆ คุณก็สามารถเปิดเทปทบทวนซ้ำได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมองในการจำ
 
9.พักซะบ้างนะ อย่าโหมหนัก
หลังฝึกหนักจนแทบอ้วก ก็อย่าลืมหาเวลาพักผ่อนบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องคิดถึงบทเรียน หรือข้อมูลต่างๆ ฃึ่งบางทีการได้ผ่อนคลายบ้างก็จะทำให้คุณตระหนักอีกด้วยว่า มีจุดไหนบ้างที่ควรแก้ไข


ที่มา: lifehack

ฝึกภาษาอังกฤษทุกวันน่ะค่ะ

1 .ต้องขยันฟังเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ ครั้งแรกก็ฟังแบบช้าก่อนน่ะค่ะ จากนั้นค่อยเพิ่มดิกรีความมันค่ะ นอกจากฟังแล้ว ฝึกร้องตามด้วยล่ะ
2. นอกจากเพลงแล้วอาจจะวิดิโออะไรก็ได้ที่ชอบที่เป็นภาษาอังกฤษ อย่างศร จะชอบการแต่งหน้าทำผม ทำอาหาร 555 อะไรประมาณนี้ค่ะ ดูแล้วมีความสุข
3. ฝึกใช้ภาษาทุกวัน ใช้เท่าที่รู้ หมายถึงมีคำศัพท์กี่คำ ก็ดึงมันมาพูดบ่อยๆค่ะ จากนั้นค่อยเพิ่มคำศัพท์เข้าไปค่ะ วันล่ะนิด วันล่ะหน่อย ที่บอกนี้ ให้พูดคนเดียวค่ะ ถ้าไม่มีเพื่อนคุย จบปิ้ง!
4. ดูหนังที่ชอบ
5. ฟังข่าว CNN BBC บ้างจ่ะ
6. ให้ความสำคัญกับแกรมม่าด้วยน่ะค่ะ ลองไปฝึกกันดูน่ะค่ะ 

7 ข้อดีในการเรียนหลายๆภาษา ที่ไม่เคยรู้มาก่อน


1

1. ทำให้เราฉลาดขึ้นกว่าเดิม
การเรียนรู้ภาษาใหม่ ทำให้สมองเราได้ทำงานและแก้ไขปัญหา ทั้งการเรียนรู้จดจำ การแปลความหมาย รูปแบบประโยคที่ต่างกัน ทำให้นักเรียนที่รู้หลายภาษามีโอกาสทำคะแนนในวิชาอื่นๆดีกว่านักเรียนที่รู้เพียงภาษาเดียวด้วย

2. ช่วยในการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน
คนที่สามารถเรียนรู้หลายภาษา จะมีความสามารถในการทำงานได้พร้อมกัน รวมถึงสามารถรับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆรอบตัวได้อย่างดี เป็นผลจากการฝึกเรียนรู้การพูด ฟัง เขียน ในรูปแบบที่ต่างกันนั่นเอง ผลวิจัยยังพบว่าคนที่รู้หลายภาษา ขับรถได้ผิดพลาดน้อยกว่าด้วยนะเออ…

2

3. ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์
เปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งคนที่เรียนรู้ภาษาเดียวจะเป็นอัลไซเมอร์เฉลี่ยที่อายุ 71.4 ปี แต่คนที่มีความรู้หลายภาษา จะสามารถยืดความทรงจำดีๆไปได้ถึง 75.5 ปี

4. เพิ่มความทรงจำ
การศึกษาพบว่าการใช้งานสมองเรียนภาษาใหม่ จะทำให้เกิดการจดจำบ่อยๆ สามารถช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บความทรงจำให้เราได้มากขึ้น เช่นเดียวกับฝึกวิดพื้นบ่อยๆแล้วแขน หรือร่างกายช่วงบนจะแข็งแรงขึ้นนั่นเอง

3

5. เสริมความสามารถ ในการรับรู้แยกแยะข้อมูล
มหาวิทยาลัยในสเปน พบว่าการเรียนรู้หลายภาษา ช่วยให้เรามีความสามารถในการแยกแยะข้อมูล กลั่นกรองถึงความถูกต้อง รวมถึงคนที่มีความสามารถในภาษาต่างๆ จะมีโอกาสวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาผิดพลาดน้อยกว่าคนที่ใช้ภาษาเดียว

6. เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ
มหาวิทยาลัยชิคาโก้ ในสหรัฐอเมริกา ระบุว่าการรับรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้คำศัพท์ได้ดีขึ้น ส่งผลถึงความสามารถในการตัดสินใจที่เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้เลือกทำสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

4

7. ใช้ภาษาหลักได้เก่งกว่าเดิม
การเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ทำให้เราจับรูปแบบภาษาหลายๆภาษาทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่มีรากมาจากการพูดเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงส่งผลทางอ้อมให้สามารถใช้ภาษาหลักของเราได้ดีกว่าเดิม เป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนอีกอย่างหนึ่ง

ไม่น่าเชื่อนะครับว่าการเรียนภาษาเพิ่มหลายๆ ภาษาจะมีผลดีขนาดนี้ รู้อย่างนี้แล้วลองหาภาษาที่ 3 หรือ 4 เรียนกันสักหน่อยนะครับ มีประโยชน์แน่นอน อิอิ แล้วมาพบกับสาระดีๆ แบบนี้ได้ใหม่กับ ScholarShip.in.th นะครับ
Source: TeLeGraph