Home page

Tuesday, 8 July 2014

มาพบกับ 10 สุดยอดประเทศที่นักศึกษาชอบไปเรียนต่อ

เรียนต่างประเทศ ไหนดีวันนี้มีคำตอบ

20140705-1404573776.4363-8

อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา ลดจากปี 2009 ถึง 6.6 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 2 สหราชอาณาจักร ลดจากปี 2009 ถึง 8.1 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 3 แคนาดา ลดจากปี 2009 ถึง 5.8 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 4 เยอรมนี เพิ่มจากปี 2009 ถึง 8.9 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 5 ออสเตรเลีย ลดจากปี 2009 ถึง 6.3 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 6 ฝรั่งเศส เพิ่มจากปี 2009 ถึง 2.2 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 7 สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่มจากปี 2009 ถึง 5.8 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 8 เนเธอร์แลนด์ เพิ่มจากปี 2009 ถึง 4.4 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 9 สวีเดน เพิ่มจากปี 2009 ถึง 3.2 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 10 สเปน ลดจากปี 2009 ถึง  2.8 เปอร์เซ็นต์

จากกราฟจะพอสังเกตได้ว่า ความนิยมในการไปเรียนต่อในอเมริกา อังกฤษ หรือออสเตรเลียจะค่อนข้างลดลง และนักศึกษาจะเน้นไปเรียนต่อกันที่ประเทศแถบยุโรปกันแทนนะครับ ซึ่งจะด้วยเรื่องปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ค่าเล่าเรียน และคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านั่นเอง

หวังว่านี่ก็จะเป้นข้อมูลที่จะช่วยเพื่อนๆ ที่ยังตัดสินใจว่าจะไปเรียนต่อกันที่ไหนยังไม่ได้นะครับ จะได้ไม่ตัดสินใจพลาดกันจ้า แล้วมาพบกับข้อมูลดีๆ แบบนี้ได้ใหม่กับ ScholarShip.in.th นะจ๊ะ

เคล็ดลับความจำ!! สอนเทคนิค...ทำอย่างไรให้สมอง ‘จำได้ไว-จำได้เก่ง’ กว่าผู้อื่น

1.เริ่มที่การเตรียมตัว
ก่อนจะมีทักษะการจำระดับเทพ การเตรียมตัวถือเป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งกูรูต่างประเทศแนะนำว่าขณะฝึกเราควรหาสถานที่ที่มีสิ่งรบกวนน้อยจะช่วยได้มาก อีกทั้งการดื่มน้ำชาก็ช่วยได้เช่นกัน เพราะชามีส่วนผสมที่ช่วยบำรุงความจำ
 
2.บันทึกสิ่งที่คุณต้องการจำ
หากต้องการจะจำบทเรียนในห้อง ให้อัดเสียงไว้แบบละเอียด จากนั้นเปิดฟังไปเรื่อยๆ สมองของคุณก็จะซึมซับข้อมูลไว้  ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบเรียนรู้ด้วยการฟัง
 
3.จดแหลก
ขณะที่คุณพยายามจำอะไรสักอย่าง ให้เขียนข้อมูลที่คุณพอจะจำได้ทั้งหมดออกมา เพราะมันจะช่วยเราสร้างความคุ้นเคย และเมื่อเราเริ่มจำข้อมูลนั้นอีกครั้งจะทำให้เราจำได้ไวขึ้น
 
4.แบ่งหมวดหมู่ของสิ่งที่จด
การแบ่งหมวดหมู่ในโน้ต จะช่วยจัดระเบียบความคิด ซึ่งจะทำให้เราจดจำได้ดียิ่งขึ้นขณะทบทวน นอกจากนี้การใช้สีช่วยไฮไลท์ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำเช่นกัน
 
5.การทบทวนช่วยให้จำเก่งขึ้น
การหมั่นทบทวนจะทำให้สมองคุ้นเคยกับข้อมูลและจดจำได้แม่นยำ อีกทั้งยังทำให้ความทรงจำระยะสั้นดีขึ้น แต่สิ่งที่ต้องจำไว้คือควรทบทวนทีละประเด็น จนมั่นใจว่าจำได้ จึงค่อยจำเรื่องอื่นต่อ เพราะถ้าฝืนเหมารวมจะทำให้เราจำอะไรได้น้อยมาก
 
6.เขียนออกมาจากความทรงจำ
เมื่อเริ่มจำข้อมูลได้แล้ว ให้ถ่ายทอดออกมาโดยการเขียน  ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้สมองซึมซับข้อมูลได้แม่นยิ่งขึ้น ในแบบที่คุณเองก็คาดไม่ถึงเลยล่ะ

7.สอนสิ่งที่รู้ให้ผู้อื่น (หรือแม้กระทั่งตัวเอง)
นี่คืออีกสุดยอดเทคนิค ที่คนจำเก่งนิยมทำ นั่นคือพวกเขาสอนหรือติวข้อสอบให้เพื่อนๆ เพราะการทำเช่นนี้จะช่วยให้สมองเข้าใจข้อมูลแบบละเอียดยิบ เพราะได้ฝึกปฏิบัติจริง อีกทั้งยังได้มิตรภาพ
 
8.ฟังเทปซ้ำ ขณะมีเวลาว่าง
กูรูต่างประเทศแนะว่า หากมีเวลาว่างอย่าปล่อยไปอย่างไร้ประโยชน์ เพราะไม่ว่าตอนซักผ้า หรือนั่งเล่นชิลๆ คุณก็สามารถเปิดเทปทบทวนซ้ำได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมองในการจำ
 
9.พักซะบ้างนะ อย่าโหมหนัก
หลังฝึกหนักจนแทบอ้วก ก็อย่าลืมหาเวลาพักผ่อนบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องคิดถึงบทเรียน หรือข้อมูลต่างๆ ฃึ่งบางทีการได้ผ่อนคลายบ้างก็จะทำให้คุณตระหนักอีกด้วยว่า มีจุดไหนบ้างที่ควรแก้ไข


ที่มา: lifehack

ฝึกภาษาอังกฤษทุกวันน่ะค่ะ

1 .ต้องขยันฟังเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ ครั้งแรกก็ฟังแบบช้าก่อนน่ะค่ะ จากนั้นค่อยเพิ่มดิกรีความมันค่ะ นอกจากฟังแล้ว ฝึกร้องตามด้วยล่ะ
2. นอกจากเพลงแล้วอาจจะวิดิโออะไรก็ได้ที่ชอบที่เป็นภาษาอังกฤษ อย่างศร จะชอบการแต่งหน้าทำผม ทำอาหาร 555 อะไรประมาณนี้ค่ะ ดูแล้วมีความสุข
3. ฝึกใช้ภาษาทุกวัน ใช้เท่าที่รู้ หมายถึงมีคำศัพท์กี่คำ ก็ดึงมันมาพูดบ่อยๆค่ะ จากนั้นค่อยเพิ่มคำศัพท์เข้าไปค่ะ วันล่ะนิด วันล่ะหน่อย ที่บอกนี้ ให้พูดคนเดียวค่ะ ถ้าไม่มีเพื่อนคุย จบปิ้ง!
4. ดูหนังที่ชอบ
5. ฟังข่าว CNN BBC บ้างจ่ะ
6. ให้ความสำคัญกับแกรมม่าด้วยน่ะค่ะ ลองไปฝึกกันดูน่ะค่ะ 

7 ข้อดีในการเรียนหลายๆภาษา ที่ไม่เคยรู้มาก่อน


1

1. ทำให้เราฉลาดขึ้นกว่าเดิม
การเรียนรู้ภาษาใหม่ ทำให้สมองเราได้ทำงานและแก้ไขปัญหา ทั้งการเรียนรู้จดจำ การแปลความหมาย รูปแบบประโยคที่ต่างกัน ทำให้นักเรียนที่รู้หลายภาษามีโอกาสทำคะแนนในวิชาอื่นๆดีกว่านักเรียนที่รู้เพียงภาษาเดียวด้วย

2. ช่วยในการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน
คนที่สามารถเรียนรู้หลายภาษา จะมีความสามารถในการทำงานได้พร้อมกัน รวมถึงสามารถรับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆรอบตัวได้อย่างดี เป็นผลจากการฝึกเรียนรู้การพูด ฟัง เขียน ในรูปแบบที่ต่างกันนั่นเอง ผลวิจัยยังพบว่าคนที่รู้หลายภาษา ขับรถได้ผิดพลาดน้อยกว่าด้วยนะเออ…

2

3. ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์
เปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งคนที่เรียนรู้ภาษาเดียวจะเป็นอัลไซเมอร์เฉลี่ยที่อายุ 71.4 ปี แต่คนที่มีความรู้หลายภาษา จะสามารถยืดความทรงจำดีๆไปได้ถึง 75.5 ปี

4. เพิ่มความทรงจำ
การศึกษาพบว่าการใช้งานสมองเรียนภาษาใหม่ จะทำให้เกิดการจดจำบ่อยๆ สามารถช่วยเพิ่มพื้นที่เก็บความทรงจำให้เราได้มากขึ้น เช่นเดียวกับฝึกวิดพื้นบ่อยๆแล้วแขน หรือร่างกายช่วงบนจะแข็งแรงขึ้นนั่นเอง

3

5. เสริมความสามารถ ในการรับรู้แยกแยะข้อมูล
มหาวิทยาลัยในสเปน พบว่าการเรียนรู้หลายภาษา ช่วยให้เรามีความสามารถในการแยกแยะข้อมูล กลั่นกรองถึงความถูกต้อง รวมถึงคนที่มีความสามารถในภาษาต่างๆ จะมีโอกาสวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาผิดพลาดน้อยกว่าคนที่ใช้ภาษาเดียว

6. เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ
มหาวิทยาลัยชิคาโก้ ในสหรัฐอเมริกา ระบุว่าการรับรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้คำศัพท์ได้ดีขึ้น ส่งผลถึงความสามารถในการตัดสินใจที่เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้เลือกทำสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

4

7. ใช้ภาษาหลักได้เก่งกว่าเดิม
การเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ทำให้เราจับรูปแบบภาษาหลายๆภาษาทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่มีรากมาจากการพูดเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงส่งผลทางอ้อมให้สามารถใช้ภาษาหลักของเราได้ดีกว่าเดิม เป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนอีกอย่างหนึ่ง

ไม่น่าเชื่อนะครับว่าการเรียนภาษาเพิ่มหลายๆ ภาษาจะมีผลดีขนาดนี้ รู้อย่างนี้แล้วลองหาภาษาที่ 3 หรือ 4 เรียนกันสักหน่อยนะครับ มีประโยชน์แน่นอน อิอิ แล้วมาพบกับสาระดีๆ แบบนี้ได้ใหม่กับ ScholarShip.in.th นะครับ
Source: TeLeGraph

Sunday, 15 June 2014

ให้กำลังใจคนล่าฝัน

              ทุกคนล้วนแต่มีจุดด้อยซ่อนอยู่ มีไม่กี่คนหรอกที่จะกล้ายอมรับมัน มันอาจทำให้เราเจ็บปวด และร้องไห้  รู้ไหม เมื่อเรารู้ว่าเราด้อยตรงไหน เราต้องรีบจัดการกับมัน จงรีบพัฒนามันและจัดการกับมันซะ ก่อนที่มันจะไปทำลายอนาคต ทำทายความรัก ทำลายงานของคุณ จงรีบพัฒนามัน ก่อนที่คนอื่นจะรู้ว่ามันคือจุดด้อยของคน เพราะฉันเชื่อว่า ไม่มีสักกี่คนอื่นที่จะยอมรับมันได้ด้วยใจที่บริสุทธ์ ทุกคนล้วนแล้วแต่มีจิตที่โหดร้ายซ่อนไว้ภายใน             ทุกคนค่ะ เริ่มตั้งแต่วันนี้ด้วยใจจริง ด้วยใจที่ศรัทธา ด้วยใจที่เชื่อมัน ด้วยความหวัง ด้วยความฝัน ด้วยจุดมุ่งหมาย ไม่มีใครทำไม่ได้ จะมีก็แค่พวกที่คิด และคิด แต่ไม่เคยลงมือทำ ใช้แค่ความคิด มีความสุขกับความคิด จิตใจเลื่อนลอย จุดมุ่งหมายเลือ่นลอย ทำมันซะเถิด
            นี่พูดจริงๆน่ะ อยากให้ลงมือทำ อย่ากลัวกลับการทำอะไรใหม่ๆ บางครั้งมันอาจดีกว่าที่เป็นก็ได้ ขอแค่ลอง ลอง ลอง ลองดูซักตั้ง เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้เราก็จะอยู่แค่นี้ตลอดไป อาจอยู่แค่นี้ไปจนตายเลยและก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
              คิดดูให้ดีน่ะ เวลาช่างเดินเร็ว ชีวิตคนคนหนึ่งช่างสั้นนัก อย่าให้เวลาเสียเปล่าเลย
              เป็นกำลังใจให้ทุกคนน่่ะ

Wednesday, 11 June 2014

ภาษาบอกรัก ฉบับอาเซียน Love ASEAN Language

บทความนี้ผมเลยมี วิธีพูดคำว่า “ฉันรักเธอ” เป็นภาษาในประเทศสมาชิกอาเซียน มาฝากกัน เผื่อว่าใครจะเอาไปใช้จีบสาวๆหรือหนุ่มๆ จากแต่ละประเทศอาเซียนได้ครับ

aec2

1. ภาษาบรูไน - ซายาจินตากันมู (Saya cintakan mu)
2. ภาษากัมพูชา - บองสรันโอน (Bon sro lahn oon)
3. ภาษาอินโดนีเซีย – ซายาจินตาปาดามู (Saya cintapada mu)
4. ภาษาลาว – ข้อยฮักเจ้า (Khoi Hak Jao)
5. ภาษามาเลเซีย – ซายาจินตามู (Saya cinta mu)
6. ภาษาฟิลิปปินส์ – มาฮัลกะตา (Mahal kata)
7. ภาษาสิงคโปร์ – ไอเลิฟยู (I love you)
8. ภาษาไทย – ฉันรักเธอ (Chan Rak Ter)
9. ภาษาเวียดนาม – ตอยยิ่วเอ๋ม (Toi yue em)
10. ภาษาพม่า – จิตพาเด (chit pa de)

aec1

เป็นยังไงครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมหล่ะ เพียงเท่านี้เพื่อนๆก็จะมีคำที่ใช้บอกรักคนในชาติอาเซียนแต่ละชาติแล้ว อย่างไรก็ตามนอกจากคำบอกรักแล้ว เพื่อนๆก็ควรจะฝึกคำอื่นๆด้วยนะครับ เพราะว่า คำว่ารักคงยังไม่พอ เธอคงไม่รับฟังง
ข้อมูลจาก: Mthai